เนื่องด้วย "วันเหยื่อโลก" หรือ The World Day of Remembrance for Road Traffic Victims (WDR) วันที่คนทั้งโลกจะร่วมลำลึกถึงผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน เพื่อเป็นโอกาสให้ผู้คนทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสูญเสียและความสำคัญของการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน จากรายงานการเกิดอุบัติเหตุทางถนนอยู่ จากข้อมูลการบูรณาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 3 ฐาน ปี 2554-2566 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนแล้วกว่า 250,000 คน ยังไม่ร่วมผู้บาดเจ็บนับล้านคน โดย 4.6% ของผู้บาดเจ็บจะเป็นผู้พิการ หรืออย่างน้อยครอบครัวละ 3 คน โดยจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่า 70% เป็นวัยเด็กและวันทำงาน
หนึ่งในสาเหตุของการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน คือการขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกกันน็อก และมากกว่าครึ่งหนึ่งของคนที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากมอเตอร์ไซค์ เกิดขึ้นภายในรัศมี 5 กิโลเมตรจากที่พัก ดังนั้นทางสมาคมฯ เชิญชวนประชาชนทุกท่านตระหนักถึงชีวิต ลดความประมาท และเพิ่มระยะปลอดภัยโดยการใส่หมวกกันน็อกที่ผ่านมาตรฐาน มอก.
ผลสำรวจจากศูนย์ความร่วมมือด้านการป้องกันอุบัติเหตุ องค์การอนามัยโลก คณะทำงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจร (สอจร.) และมูลนิธิไทยโรดส์ พบสาเหตุว่าทำไมคนเราถึงไม่ชอบสวมหมวกกันน็อก ดังนี้
64% คิดว่า เดินทางระยะใกล้ไม่ใส่ดีกว่า
37% คิดว่า ก็ไม่ได้ขับออกถนนใหญ่
29% คิดว่า รีบ สวมหมวกกันน็อกแล้วเสียเวลา
21% คิดว่า สวมหมวกกันน็อกแล้วร้อน อึดอัด ไม่สบายหัว หมวกสกปรก
13% คิดว่า กลัวผมเสียทรง
10% คิดว่า หมวกกันน็อกแพง ไม่มีที่เก็บ พกลำบาก กลัวหาย
8% คิดว่า ตำรวจไม่จับหรอก
7% บอกว่า ไม่มีหมวกกันน็อก
6% คิดว่า โอกาสเกิดอุบัติเหตุมีน้อย
4% คิดว่า ก็คนที่นั่งมาด้วยไม่ใส่ ก็เลยไม่ใส่บ้าง
ทั้งนี้หมวกกันน็อกถูกออกแบบมาให้รับแรงกระแทกและลดความรุนแรงของผลที่เกิดขึ้นจากการกระแทกนั้น แทนที่จะเอาหัวเราไปชนวัตถุแข็ง ๆ โดยตรง ก็กลายเป็นว่าชนกับเนื้อโฟมของหมวกกันน็อกแทน
โฟมในหมวกกันน็อกมีคุณสมบัติยืดหดได้ จะช่วยยืดเวลาก่อนที่ศีรษะจะหยุดการเคลื่อนไหวออกไปประมาณ ‘6 มิลลิวินาที’ เวลาสั้นๆ แค่นี้แต่มีค่า เพราะสามารถช่วยกระจายแรงกระแทกไปยังพื้นที่ที่กว้างขึ้น นอกจากนั้น ควรเลือกหมวกกันน็อกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 369-2539) เลือกให้กระชับพอดีกับศีรษะ ซื้อหมวกกันน็อกที่มีสีสว่าง มีสายรัดคาง และควรเปลี่ยนหมวกกันน็อกทุก 3 ปี เพราะโฟมและพลาสติกที่เป็นอุปกรณ์สำหรับในการป้องกันการกระแทกอาจเสื่อมสภาพได้
.
ที่มา: สสส. และ The MATTER