เตือนภัยผู้บริโภค

เตือนภัยผู้บริโภค หมอกระเป๋า & โบท็อกซ์หิ้ว

เตือนภัยผู้บริโภค หมอกระเป๋า & โบท็อกซ์หิ้ว

ใช้แล้วจะปังหรือพัง ในระยะยาวไม่มีใครช่วยได้นะ

สาววัย 24 ปี รับบทเป็น “หมอกระเป๋า” เดินสายฉีดโบท็อกซ์-ฟิลเลอร์ ทั่วสมุทรสงคราม อ้างตัวเป็นแพทย์ แท้จริงแค่เคยทำงานในคลินิก

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ตามที่ สบส.ได้รับเบาะแสว่ามี “หมอกระเป๋า” เดินสายให้บริการฉีดสารเสริมความงาม เช่น ฟิลเลอร์ โบท็อกซ์ ฯลฯ ให้แก่ประชาชนในหลายพื้นที่ของ จ.สมุทรสงคราม อีกทั้ง หมอกระเป๋ารายดังกล่าวมีการโฆษณาผ่านสื่อโซเชียลเชิญชวนให้ประชาชนเข้ารับบริการ โดยไม่ยำเกรงกฎหมาย ตนจึงสั่งการพนักงานเจ้าหน้าที่กองกฎหมาย และศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 5 ร่วมกับตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สมุทรสงคราม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สืบหาข้อเท็จจริง และติดตามผู้กระทำความผิดมาดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งจากการติดตามเบาะแสของหมอกระเป๋ารายนี้ พบว่าในวันที่ 23 พ.ย. 2565 ได้มีการนัดหมายฉีดสารเสริมความงามให้กับประชาชนที่ร้านทำเล็บแห่งหนึ่ง ในอำเภอเมือง จ.สมุทรสงคราม เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับการยืนยันว่าหมอกระเป๋ารายดังกล่าวเข้ามาให้บริการตามที่นัดหมายแล้ว จึงสนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แสดงตัวเข้าจับกุมในขณะให้บริการ

ทั้งนี้เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ขอแจ้งเตือนภัยแก่ผู้บริโภค โดยหากท่านต้องการเข้าไปใช้บริการเสริมความงาม ควรมีข้อสังเกตุดังนี้

  1. ไม่รับบริการจากหมอกระเป๋า เพราะหมอกระเป๋าไม่มีความรู้และทักษะในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม หมอกระเป๋ามักจะนัดฉีดที่บ้านหรือสถานที่ต่างๆ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นอันตรายมาก เนื่องจากจะต้องมีการสอบถามประวัติการรักษาและการแพ้ยาจากผู้รับบริการก่อน การฉีดโบท็อกซ์จะต้องทำในสถานที่ ที่ปลอดภัย สะอาด มีขั้นตอนการมาร์คจุดก่อนฉีด จึงต้องมีแสงสว่างที่เหมาะสม รวมถึงการเก็บรักษา ยาต่างๆ โบท็อกซ์ต้องอยู่ในอุณหภูมิที่กำหนด การนำโบท็อกซ์ออกบริการตามสถานที่ต่างๆโดยไม่มีอุปกรณ์รักษาอุณหภูมิ อาจทำให้โบท็อกซ์เสื่อมคุณภาพ
  2. คลินิกที่ให้บริการฉีดโบท็อกซ์ต้องได้รับอนุญาต ถูกต้อง มีใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลและใบอนุญาตดำเนินการสถานพยาบาลต้องมีแพทย์เป็นผู้ให้บริการด้วยตนเอง โดยตรวจสอบได้จากนำชื่อนามสกุลเข้าไปตรวจในเว็บไซต์ของแพทยสภาได้ (http://www.tmc.or.th/check_md/) ถ้าไม่ใช่หมอจริงรบกวนแจ้งเบาะแสแก่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้ทุกแห่ง
  3. ต้องมีแพทย์เป็นผู้ให้บริการด้วยตนเอง โดยตรวจสอบได้จากนำชื่อนามสกุลเข้าไปตรวจในเว็บไซต์ของแพทยสภาได้ (http://www.tmc.or.th/check_md/) ถ้าไม่ใช่หมอจริงรบกวนแจ้งเบาะแสแก่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้ทุกแห่ง
  4. หากเข้าไปใช้บริการในคลินิกเวชกรรมที่มีบริการเสริมความงามก็ควรสังเกตุจากป้ายระบุแพทย์ที่ปฏิบัติงานที่ติดอยู่หน้าห้องบริการโดยระบุเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  5. ตรวจสอบโบท็อกซ์หรือผลิตภัณฑ์ยาต่างๆที่นำมาฉีด มีการขึ้นทะเบียนยาถูกต้อง และมีเอกสารกำกับ”ภาษาไทย” มีฉลากครบถ้วนและเลข lot ที่กล่องและที่ขวดตรงกัน
หมอกระเป๋า โบท็อกหิ้ว
ข้อสังเกต ในการใช้บริการฉีดโบท็อกซ์


แนวทางการให้บริการคลินิกเสริมความงานให้ถูกกฏหมาย

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *